วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีของ"นางสาวเอ"


คำถาม
- นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ กับการใช้เทคโนโลยีในการตัดสินการกระทำของแต่ละบุคคล (อธิบายเหตุผลประกอบ)
o หากนักศึกษาเห็นด้วย แสดงความคิดเห็นว่าอนาคตการใช้เทคโนโลยีแบบนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
o หากนักศึกษาไม่เห็นด้วย แสดงความคิดเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

                ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะใช้เทคโนโลยีตัดสินให้คนผิดหรือถูก     ต้องมีการไต่สวน   สอบถามก่อน   ไม่ใช่แค่เพียงเห็นรูปภาพหรือการพูดปากต่อปากเพียงอย่างเดียว    แล้วนำไปตัดสินคนอื่น   เพราะบางทีรูปเหล่านั้นอาจเป็นรูปภาพที่แต่งขึ้น   แต่ก็ยังมีคนมากมายที่เชื่อว่านั่นคือของจริง   เพราะเทคโนโลยีสมัยนี้มีความรวดเร็วและผู้เข้าใช้เป็นจำนวนมาก   และผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถประพฤติตนในอินเทอร์เน็ตโดยขาดความยับยั้งชั่งใจมากขึ้นทุกที และขาดการชั่งใจว่าอะไรที่ทำแล้วสร้างสรรค์ และอะไรคือการคุกคาม    ดั้งนั้นการแก้ไขคือคนที่รับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตควรวิเคราะห์และใคร่ครวญถึงเหตุผลและข้อเท็จจริงของข่าว   ก่อนที่จะตัดสินว่าเป็นจริงหรือเท็จและน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยีและนวัตกรรมในท้องถิ่น

การทำ EM  จากเศษผักผลไม้
เกร็ดความรู้จากการศึกษาดูงานตลาดศูนย์การค้ากำแพงเพชร

EM  ย่อมาจาก  Effective Microorganisms      หมายถึง    กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง Dr.Teruo Higa ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวนมหาวิทยาลัยริวคิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2526   
อีเอ็ม     หรือน้ำจุลินทรีย์   มีลักษณะเป็นของเหลว  สีน้ำตาลดำ  มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ค่า พีเอช อยู่ที่ประมาณ 3.5  ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากกว่า 80 ชนิด จึงไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้      อีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น  คน  สัตว์  พืช  และแมลงที่เป็นประโยชน์    แต่ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม   ถ้านำไปใช้ในการล้างตลาด จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น  ลดจำนวนสัตว์และแมลงพาหะนำโรค  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก   อีเอ็ม จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้น การล้างตลาด ควรกระทำในช่วงเวลาเย็น เพื่อให้การกำจัดสิ่งสกปรกทั้งหลายเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ลักษณะเฉพาะของ อีเอ็ม คือ   เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ดังนั้น เวลาจะใช้ อีเอ็ม ต้องคิดอยู่เสมอว่า อีเอ็ม เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องการที่อยู่ที่เหมาะสมในอุณหภูมิปกติ  ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เราจึงสามารถขยายหรือผลิต อีเอ็ม  ได้เองจากพืชผักผลไม้และผลผลิตจากธรรมชาติ โดยนำไปหมักตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง
การผลิต อีเอ็ม เพื่อใช้ในกิจกรรมตลาดสด หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตาม ก่อนอื่นต้องผลิต  หัวเชื้อจุลินทรีย ในปริมาณตามที่ต้องการ  แล้วจึงนำหัวเชื้อที่ได้ไปขยายเป็น  อีเอ็ม อีกทีหนึ่ง
ขั้นตอนการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
                เริ่มจากการนำผักผลไม้มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปใส่ภาชนะปิดฝาให้มิดชิด  ขั้นตอนต่อมาให้นำผักผลไม้ไปผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ในอัตราส่วน 3 กิโลกรัม ต่อน้ำตาล 1 กิโลกรัม  จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน  เมื่อดูว่าส่วนผสมต่างๆ เข้ากันดีแล้ว ให้ปิดฝาทิ้งไว้ แล้วควรหมั่นกวนทุก ๆ 5-7 วัน เพื่อให้เศษผักสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น  โดยหมักทิ้งไว้ 1-2 เดือน เมื่อครบกำหนดจะสังเกตเห็นมีน้ำออกมาผสมอยู่      ซึ่งน้ำที่ได้จากการหมักนี้ก็คือน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์นั่นเอง          ส่วนการเก็บรักษานั้นให้นำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ รินเก็บใส่ไว้ในขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมที่จะเอาไปใช้ประโยชน์หรือนำไปใช้หมักทำน้ำจุลินทรีย์ (EM) ต่อไป
ขั้นตอนการทำน้ำจุลินทรีย์ (EM)
                วิธีการจะคล้าย ๆ กับการทำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์   ต่างกันตรงที่ ระยะเวลาในการหมักจะสั้นกว่าเท่านั้นเอง
ก่อนอื่นเราต้องเตรียมอุปกรณ์การทำ ดังนี้
                1. ถังพลาสติกมีฝาปิด
                2. ถุงปุ๋ย       
                3. กากน้ำตาล (โมลาท) หรือน้ำตาลทรายแดง
                4. หัวเชื้อจุลินทรีย์
                5. เศษผักผลไม้  เศษอาหาร

1. ถังพลาสติกมีฝาปิด                                           2. ถุงปุ๋ย                                     
3. กากน้ำตาล (โมลาท)                                                                                     4. หัวเชื้อจุลินทรีย์

                                                                        
5. เศษผักผลไม้ เศษอาหาร

 เมื่อเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนการหมัก
ขั้นตอนแรก  ใส่น้ำลงไปในถัง จำนวน 8 ลิตร  ถ้าหากใช้น้ำประปา ควรใส่ถังเปิดฝาทิ้งไว้
               2 วัน   เพื่อให้คลอรีนระเหยไปเสียก่อน                                    
ขั้นตอนที่ 2  นำกากน้ำตาล 250 ซีซี.  หรือน้ำตาลทรายแดง 300 กรัม (ประมาณ 3 ขีด) เทใส่ลงไป  คนให้ละลาย

ขั้นตอนที่ 3   นำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 250 ซีซี. ผสมลงไป คนให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่   เมื่อคนส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันดีแล้ว ให้นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปในถุงปุ๋ย แล้วนำถุงปุ๋ยนั้นใส่ลงในถังหมักดังกล่าว กดให้น้ำท่วมถุง หรือหาวัตถุที่มีน้ำหนักวางทับลงไปอีกทีหนึ่ง  จากนั้นก็ปิดฝาให้สนิท
 
ในกรณีที่เราจะหมักเศษอาหารหรือเศษผักผลไม้เพิ่มเติมลงไปในนั้น ก็สามารถนำไปใส่ลงในถุงปุ๋ยได้เช่นกัน  แต่ถ้าหากน้ำจุลินทรีย์มีปริมาณไม่พอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยได้ ก็ให้เติมน้ำเปล่าและกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงลงไป ในอัตราส่วน   น้ำเปล่า 8 ลิตร ต่อกากน้ำตาล 250 ซีซี. หรือน้ำตาลทรายแดง 300 กรัม ผสมลงไป เมื่อผสมส่วนต่าง ๆ จนครบแล้ว ให้หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เราก็สามารถนำน้ำจุลินทรีย์ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้

ประโยชน์ของน้ำจุลินทรีย์
น้ำจุลินทรีย์ที่ได้นั้นจะมีกลิ่นหอมปราศจากกลิ่นเหม็น  น้ำจุลินทรีย์หรือขยะหอมที่ได้นั้นออกจะดูสีสรรไม่สวย แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ในการใช้งานแล้ว มีมากมายหลายประการด้วยกัน เช่น ถ้าที่ไหนส้วมเต็ม หรือท่อระบายน้ำอุดตัน  เพียงแค่เทน้ำจุลินทรีย์ธรรมชาติลงไป  จุลินทรีย์นั้นจะไปช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตกค้าง และจะทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว ท่อระบายน้ำก็ไม่อุดตัน   ประโยชน์ข้อต่อมา  สามารถใช้ดับกลิ่นเหม็นต่าง ๆ ได้อย่างดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็นของห้องส้วม กองขยะ หรือท่อระบายน้ำ โดยนำน้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ราดลงไปบริเวณที่มีกลิ่น หรือผสมจุลินทรีย์ลงไปในถังบรรจุน้ำ ใช้ฉีดล้างตลาด ช่วยดับกลิ่นและกำจัดแมลงวัน แมลงสาบได้ผลดี  นอกจากนี้ ถ้านำน้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 ส่วน นำไปฉีดหรือรดที่ใบหรือโคนต้นไม้ สัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง   จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช    และยังช่วยลดการก่อกวนของแมลงได้อีกทางหนึ่งด้วย  สำหรับเศษขยะที่เหลือจากการหมัก  สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดี เพราะเมื่อนำมาผสมกับดินในอัตราส่วน 1:1 จุลินทรีย์ที่แทรกตัวอยู่ในเศษขยะ จะช่วยเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์ ให้กลายเป็นปุ๋ยได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชดูดซับธาตุอาหารต่างๆ ทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
 การใช้  EM  เพื่อผลิตปุ๋ยหมักจากขยะและเศษอาหาร
                                      การทับถมของกองขยะ ทำให้เกิดก๊าซมีเทนที่ลอยตัวขึ้นสู่อากาศ    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน 
                      EM เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถช่วยกำจัดก๊าซ มีเทน (CH2) ในกองขยะ   แล้วคายอ๊อกซิเจน (O2) ช่วยลดกลิ่น ลดอัตราการเจริญเติบโตของแมลงวัน

                          นำเศษขยะกลับมาเป็นปุ๋ยหมักได้อย่างดี  ด้วยการผสมมูลสัตว์  แกลบ หรือใช้ดินผสมทำให้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพแต่ราคาถูก  สามารถจำหน่ายแก่สมาชิกในชุมชนได้
 เทคนิคการปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยี  EM



                                                    ใช้ EM ปลอดภัยต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมส้วมไม่เต็มเร็ว
                             น้ำเสียในครัวเรือน ชุมชนเมือง แหล่งน้ำสาธารณะ และโรงงานอุตสาหกรรม                              สามารถใช้ EM ปรับปรุง คุณภาพน้ำเสีย ให้มีค่า BOD ในระดับมาตรฐาน
                             โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

ประวัติคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้

              ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด

              ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน



ลูกคิดของชาวจีนที่ใช้ในการคำนวณ
              พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง

              พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง

เครื่องคำนวณของปาสคาล
              เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญษชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทหการคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหาร ก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

              พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก

              พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คือเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
 

1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ

เครื่อง difference engine
              เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปี พ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

              พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศลเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่าแก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต

              พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้ใช้หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง "จริง" หรือ "เท็จ" เท่านั้น (ใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 กับ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกพื้นฐาน คือ AND, OR และ NOT)
สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้น นับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น การยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งมีเพียง 2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทน เลขฐานสิบซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่าเราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถือว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการ ออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

    พ.ศ. 2423 Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติซึ่ง ใช้กับบัตรเจาะรู เครื่องนี้ได้รับการพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นและมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากร ของสหรัฐอเมริกา ในป พ.ศ. 2433 และช่วยให้การสรุปผลสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (โดยก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่ง) เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริธ และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ ก็คือ บัตร ไอบีเอ็ม หรือบัตร 80 คอลัมน์ เพราะผู้ผลิตคือ บริษัท IBM

 การกำเนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
              ฟันเฟือง รอก คาน ซึ่งเป็นวัสดุ ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากทำให้การทำงานล่าช้าและผิดพลาดอยู่เสมอ ดังนั้นในยุคต่อมาจึงพยายาม พัฒนาเครื่องมือ ให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนี้

              พ.ศ. 2480 ศาสตราจารย์ Howard Aiken แห่งมหาลัยวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้พัฒนาเครื่องคำนวณ ตาม แนวคิด ของ Babbage ร่วมกับวิศวกรของบริษัท IBM สร้างเครื่องคำนวณตามความคิดของ Babbage ได้ สำเร็จ โดยเครื่องดังกล่าวทำงานแบบเครื่องจักรกลปนไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อในการนำเข้าข้อมูลสู่ เครื่องเพื่อทำการประมวลผล การพัฒนาดังกล่าวมาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2487 โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า MARK 1 และเนื่องจากเครื่องนี้สำเร็จได้จากการสนับสนุน ด้านการเงินและบุคลากรจากบริษัท IBM ดังนั้นจึงมีอีกชื่อ หนึ่งว่า IBM Automatic Sequence Controlled Calculator และนับเป็นเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก

              พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกามีความจำเป็นที่จะต้อง คิดค้นเครื่องช่วยคำนวณ เพื่อใช้คำนวณหาทิศทางและระยะทางในการส่งขีปนาวุธ ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณที่มี อยู่ในสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงในการคำนวณ การยิง 1 ครั้ง ดังนั้นกองทัพจึงให้กองทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ Persper Eckert จากหมาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการสร้างคอมพิวเตอร์ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยนำหลอดสุญยากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น ในด้านของความเร็วนั้น เครื่องจักกลมีความเฉื่อยของการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนประกอบ แต่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ จะใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวคลื่อนที่ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้าได้ ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของแสง ส่วนความถูกต้องแม่นยำในการทำงานของเครื่องจักรกลอาศัยฟันเฟือง รอก คาน ในการทำงาน ทำให้ทำงานได้ช้า และเเกิดความผิดพลดได้ง่าย

              พ.ศ. 2489 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ Mauchly และ Eckert คิดค้นขึ้นได้มีชื่อว่า ENIAC ย่อมาจาก (Electronic Numberical Integrater and Caculator) ประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2489 ถึงแม้ว่าจะไม่ทันใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ความเร็วในการตำนวณของ ENIAC ทำให้วงการคอมพิวเตอร์ขณะนั้น ยอมรับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ แต่อย่างไรก็ตาม ENIAC ทำงานด้วยไฟฟ้าทั้งหมดทำให้ในการทำงานแต่ละครั้งจึงทำให้เกิดความร้อนสูงมากจำเป็นต้องติดตั้งไว้ในห้องที่มีเครือ่งปรับอากาศด้วย นอกจากนี้ ENIAC ยังเก็บได้เฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลขขนาด 10 หลัก และเก็บได้เพียง 20 จำนวน เท่านั้น ส่วนชุดคำสั่งนั้น ยังไม่สามารถเก็บไว้ในเครื่องได้ การส่งชุดคำสั่งเข้าเครื่องจะต้องใช้วิธีการเดินสายไฟสร้างวงจร ถ้ามีการแก้ไขโปรแกรม ก็ต้องมีการเดินสายไฟกันใหม่ ซึ่งใช้เวลาเป็นวัน


เครื่องคอมพิวเตอร์ ENIAC
              ความคิดต่อมาในการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นก็คือ การค้นหาวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่อง เพื่อลดความยุ่งยาก ของขั้นตอนการป้อนคำสั่งเข้าเครื่อง มีนักคณิตศาสตร์เชื้อสายฮังการเรียนชื่อ Dr.John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้า สำหรับการคำนวณ และการปฏิบัติการพื้นฐาน ไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง แล้วเรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัสตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดนี้ได้แก่ EVAC (Electronic Ddiscreate Variable Automatic Computer) ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2494 และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EVAC และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Strorage Automatic Caculator)

เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุค
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501) 
   
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี 
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
  • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
·         ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
·         เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

หลอดสูญญากาศ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2507) 
               มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

ทรานซิสเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513) 
    คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 

นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : S) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป 

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523) 
                เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน) 

ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น         



           



แผนการสอนระดับประถมศึกษา(วิชาภาษาไทยป.๒)

โรงเรียนปิยมาตย์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่............................. วิชาภาษาไทย   (ท๑๒๑๐๑)         ปีการศึกษา      ๒๕๕๓
ภาคเรียนที่         ชั้นประถมศึกษาปีที่                        หน่วยที่             เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้
สัปดาห์ที่ ............  เวลา ...........  คาบ        วันที่ ........................... เดือน ..................  พ.ศ.  ๒๕๕๔
***************************************************
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่    การอ่าน
มาตรฐาน  ท.๑.๑  ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ  แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและนิสัยการอ่าน
สาระที่   การเขียน
มาตรฐาน  ท.๒.๑  ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร     เขียนเรียนความ  ย่อความ  และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
สาระที่     วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน  ท.๕.๑  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น   วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง 

ตัวชี้วัด
๑.อ่านออกเสียงคำ   คำคล้องจอง   ข้อความและบทร้อยกรองง่ายๆได้ถูกต้อง
๒.อธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่านได้
๓.ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๔.ระบุความสำคัญและรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน

สาระการเรียนรู้แกนกลาง
-อ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ    คำคล้องจอง  ข้อความและบทร้อยกรองง่ายๆ
-การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
-มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
-รู้จักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

เทคนิควิธีการสอน
-ระบบกลุ่ม
-ระดมความคิด

จุดประสงค์
๑.นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงเรื่องที่กำหนดและจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
๒.นักเรียนสามารถอ่านในใจเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนดและจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
๓.นักเรียนสามารถรู้และเข้าคำใหม่ในบทเรียนได้
๔.นักเรียนรู้และเข้าใจคำยากในบทเรียน
๕.สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ครั้งที่    เรื่องอ่านออกเสียงและสรุปใจความสำคัญ
ขั้นนำ
๑.ทดสอบก่อนเรียน  ๑๐  นาที ครูรวบรวมกระดาษคำตอบและนำไปตรวจแล้วแจ้งคะแนนในครั้งต่อไป
๒.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ครูอ่านหนังสือเรียน ภาษาพาทีบทที่    เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้  ให้เด็กฟัง  1  รอบ  แล้วให้เด็กอ่านตาม   จากนั้นให้เด็กแบ่งกันอ่านให้เพื่อฟังคนละ   3   วรรค
ขั้นสอน
๑.ครูสนทนากับนักเรียน   เรื่องโรงเรียนต้นไม้  
๒.ครูให้เด็กสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านลงในสมุด
๓.ครูให้นักเรียนจินตนาการว่านักเรียนพูดอะไรกับต้นไม้   ซึ่งเป็นต้นไม้ที่พูดได้    จากนั้นให้นักเรียนวาดรูปและระบายสีเกี่ยวกับต้นไม้พูดได้ในความคิดของนักเรียนเอง
๔.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วช่วยกันหาคำยากและคำใหม่จากบทเรียน   แล้วส่งแทนออกมานำเสนอให้เพื่อนฟัง    โดยเขียนคำเหล่านั้นลงในบัตรที่ครูแจกให้
ขั้นสรุป
๑.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับคำยากและคำใหม่ในบทเรียนว่ามีคำอะไรบ้าง   โดยครูพูดเสริมและเพิ่มเติมคำยากและคำใหม่ของเด็กๆ    จากนั้นให้เขียนลงในสมุดของตัวเองเป็นคำอ่าน
๒.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องโรงเรียนต้นไม้ว่าต้นไม้มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร
๓.ครูตรวจผลงานจากสมุดของนักเรียน

ครั้งที่    เรื่องการอ่านในใจและสรุปใจความสำคัญ
ขั้นนำ
๑.ทดสอบก่อนเรียน ๑๐  นาที ครูรวบรวมกระดาษคำตอบและนำไปตรวจแล้วแจ้งคะแนนในครั้งต่อไป
๒.ครูกล่าวสวัสดีกับนักเรียนทุกๆคนในห้องเรียนจากนั้นครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับหลักการอ่านในใจ

๒.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ครูอ่านหนังสือ                         เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้  ให้เด็กฟัง  1  รอบ  แล้วให้เด็กอ่านตาม   จากนั้นให้เด็กอ่านในใจ
ขั้นสอน
๑.ครูสนทนากับนักเรียน   เรื่องโรงเรียนต้นไม้  
๒.ครูให้เด็กสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านลงในสมุด
๓.ครูให้นักเรียนนำเรื่องที่อ่านมาจินตนาการและวาดเป็นเรื่องราวตามความคิดของนักเรียนเอง  
๓.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วช่วยกันหาคำยากและคำใหม่จากบทเรียน   แล้วส่งแทนออกมานำเสนอให้เพื่อนฟัง    โดยเขียนคำเหล่านั้นลงในบัตรที่ครูแจกให้
ขั้นสรุป
๑.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับคำยากและคำใหม่ในบทเรียนว่ามีคำอะไรบ้าง   โดยครูพูดเสริมและเพิ่มเติมคำยากและคำใหม่ของเด็กๆ    จากนั้นให้เขียนลงในสมุดของตัวเองเป็นคำอ่าน
๒.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องโรงเรียนต้นไม้ว่าต้นไม้มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร
๓.ครูตรวจผลงานจากสมุดของนักเรียน

สื่อการเรียนการสอน
๑.ประเภทสื่อ
          ใบความรู้               ใบงาน
๒.วัสดุ/อุปกรณ์
                หนังสือภาษาพาที
               
๓.แหล่งการเรียนรู้
                ครู  อาจารย์
                ผู้ปกครอง
                ห้องสมุด

เครื่องมือที่ใช้วัด
-ใบความรู้
-การเข้าร่วมกิจกรรมในเวลาเรียน
-สังเกตจากการตั้งใจเรียนในห้องเรียน

การวัดและประเมินผล
๑.วิธีการวัดและประเมินผล
                -การตรวจผลงานจากใบงาน
        -การทำแบบทดสอบและการทำแบบฝึกหัด
                -สังเกตจากพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรม
                -การตั้งคำถามและตอบคำถาม

๒.เครื่องมือวัดและประเมินผล
-ใบความรู้
-การเข้าร่วมกิจกรรมในเวลาเรียน
-สังเกตจากการตั้งใจเรียนในห้องเรียน

๓.เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                                ตอบถูกต่ำกว่า     ข้อ                 :              อ่อนมาก
ตอบถูกต่ำกว่า   ๓-๔  ข้อ            :              อ่อน
 ตอบถูกต่ำกว่า   ๕-๖  ข้อ                 :              พอใช้
ตอบถูกต่ำกว่า   ๗-๘  ข้อ            :              ดี
ตอบถูกต่ำกว่า   ๙-๑๐  ข้อ                :              ดีมาก

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
ตอนที่ 
จงเติมคำลงในช่องว่างให้สมบูรณ์  (๕  คะแนน)

เจ้าต้นข้าวเอ๋ย                                       เคยเป็นข้าว.....................
เจ้าถูก............เลือก                                            จากเมล็ดข้าว
แม่หาบจากบ้าน                                                   ไป........................กลางนา
ขอน้ำจาก..............                                            ขอรักจากดวงดาว
ขอนมจากดิน                                                       มาให้เจ้า.................                        

ตอนที่ ๒  ( ๕ คะแนน)
๑.ต้นไม้พูดได้มีอายุกี่ปีแล้ว
                ก.  ๖๙  ปี                  ค.  ๘๙  ปี
                ข.  ๗๙  ปี                             ง.  ๙๙  ปี
๒. ต้นไม้ประจำชีวิตให้ข้อคิดอย่างไรบ้าง
                ก.                            ข.            ค.                            ง.
๓.คำว่า ต้นไม้ในชื่อ โรงเรียนต้นไม้หมายถึงอะไร
                ก.                            ข.
                ค.                            ง.                                   
๔.วันแรกของการเปิดเทอมเด็กๆเป็นอย่างไร
                ก.เศร้า                     ข.เสียใจ
                ค.สนุกครื้นเครง                  ง.ร้องให้
๕.จากเพลง เจ้าต้นข้าวเอ่ย...ที่ลุงไทร้องให้เด็กฟังเจ้าต้นข้าวหมายถึงใคร
          บันทึกหลังการสอน

เรื่อง.......................................................................................................
ผลการสอน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
อุปสรรค/ปัญหา
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                                      ลงชื่อ.................................................................ครูประจำวิชา
                                                                                (...................................................................)
                                                                                  ................./............................./...................
ความคิดเห็นของหัวหน้าสาระ/วิชาการ
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                       ลงชื่อ.................................................................หัวหน้าสาระ/วิชาการ
                                                              (...................................................................)
                                                                ................./............................./....................